สมรรถนะของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา
THE PRESIDENTS' COMPETENCY OF NORTHEASTERN RAJABHAT UNIVERSITIES AFFECTING EDUCATIONAL QUALITY

: ชื่อผู้วิจัย จิรันธนิน ทองธิราช
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: อุดมศึกษา
: ปี 2560
: 750

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาสมรรถนะของอธิการบดีมหาวิยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของสมรรถนะของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีต่อคุณภาพการศึกษา วิธีวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1 การศึกษาสมรรถนะของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 22 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย ตนเองและรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปหา ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และการจัดหมวดหมู่ ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจํานวน 65 ตัวชี้วัด

ระยะที่ 2 การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการศึกษา จํานวน 650 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.985 การเก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสําเร็จรูปหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ค่าดัชนี KMO ค่า Bartlett ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 สมรรถนะด้านการบริหารจัดการ มี 23 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 สมรรถนะด้านมุ่งการเปลี่ยนแปลง มี 16 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 สมรรถนะด้านคุณธรรมและจริยธรรม มี 13 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 สมรรถนะด้านมุ่งความสัมพันธ์ มี 7 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 5 สมรรถนะด้านวิชาการ มี 6 ตัวชี้วัด

ระยะที่ 3 การศึกษาอิทธิพลของสมรรถนะของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีต่อคุณภาพการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการศึกษา จํานวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่น 0.987 และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพภายนอก สมศ. รอบสาม (พ.ศ. 2554 - 2558) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์และการส่งทางไปรษณีย์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า อิทธิพลของสมรรถนะของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีต่อคุณภาพการศึกษา มีสมรรถนะของอธิการบดีด้านมุ่งการเปลี่ยนแปลง ด้านการบริหารจัดการด้านคุณธรรมและจริยธรรม และด้านวิชาการ มีอํานาจในการพยากรณ์คุณภาพการศึกษา ร้อยละ 51.50 สามารถเขียนเป็นสมการในรูปแบบ คะแนนดิบ (Y) และสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน (Z) ได้ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

Y_Sum = -2.756 + 0.673(x_2) + 0.475(x_1) + 0.387(x_3) + 0.133(x_5) สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน

z_sum = 0.373(z_2) +0.265(z_1)+ 0.243(z_3)+ 0.100(z_5)

`

สมรรถนะของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาTHE PRESIDENTS' COMPETENCY OF NORTHEASTERN RAJABHAT UNIVERSITIES AFFECTING EDUCATIONAL QUALITY is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.