การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบและแนวคิดเมตาคอกนิชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักศึกษากฎหมาย ระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
THE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT STRATEGY BASED ON INQUIRY-BASED LEARNING AND METACOGNITION APPROACHES TO ENHANCE CRITICAL THINKING AND KNOWLEDGE ACQUISITION ABILITIES OF UNDERGRADUATE LAW STUDENTS IN NATIONAL UNIVERSITY OF LAOS

: ชื่อผู้วิจัย ดวงมาลา คําสงกา
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2559
: 740

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบและแนวคิดเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักศึกษากฎหมาย ระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว 2) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ แบบสืบสอบและแนวคิดเมตาคอกนิชัน โดยดําเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพ และปัญหาการจัดการการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการแสวงหาความรู้ โดยการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์สอนกฎหมาย ระยะที่ 2 พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ จากการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้ในระยะที่ 1 สร้างยุทธศาสตร์และตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยนําไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักศึกษากฎหมายปีที่ 3 คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จํานวน 3 ห้องเรียน โดยจับสลากเพื่อคัดเลือกเป็นกลุ่มทดลองจํานวน 1 ห้องเรียน ใช้ระยะเวลาในการทดลอง จํานวน 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 2 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดการการเรียนรู้ ตามยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบประเมินความสามารถในการแสวงหาความรู้ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว (One Group Pretest-Posttest Design) ดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบที่แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) และการเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบและแนวคิดเมตาคอกนิชันประกอบด้วยสาระสําคัญ ได้แก่ 1) ชื่อยุทธศาสตร์ 2) ความเป็นมาและความสําคัญ 3) ลักษณะสําคัญของยุทธศาสตร์ 4) แนวคิดพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนายุทธศาสตร์ 5) หลักการของยุทธศาสตร์ 6) จุดมุ่งหมายของยุทธศาสตร์ 7) กระบวนการของยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 7.1) กระบวนการจัดการการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน 7.1.1) ขั้นเผชิญสถานการณ์ 7.1.2) ขั้นผสานความคิดและประสบการณ์ 7.1.3) ขั้นสืบสานสู่การปฏิบัติ 7.1.4) ขั้นชี้ชัดข้อกฎหมาย 7.1.5) ขั้นขยายความรู้ไปประยุกต์ และ 7.2) การจัดปัจจัยสนับสนุนและการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ 8) การวัดและการประเมินผลตามยุทธศาสตร์

2. ผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ พบว่า

2.1 นักศึกษากฎหมายที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบและแนวคิดเมตาคอกนิชันมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังการใช้ยุทธศาสตร์ไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80

2.2 นักศึกษากฎหมายที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบและแนวคิดเมตาคอกนิชันมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังการใช้ยุทธศาสตร์สูงกว่าก่อนการใช้ยุทธศาสตร์

2.3 นักศึกษากฎหมายที่มีระดับผลการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบและแนวคิดเมตาคอกนิชัน มีความสามารถในการแสวงหาความรู้หลังการใช้ยุทธศาสตร์สูงกว่าก่อนการใช้ยุทธศาสตร์ และแต่ละกลุ่มมีความสามารถในการแสวงหาความรู้แตกต่างกัน

`

การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบและแนวคิดเมตาคอกนิชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักศึกษากฎหมาย ระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวTHE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT STRATEGY BASED ON INQUIRY-BASED LEARNING AND METACOGNITION APPROACHES TO ENHANCE CRITICAL THINKING AND KNOWLEDGE ACQUISITION ABILITIES OF UNDERGRADUATE LAW STUDENTS IN NATIONAL UNIVERSITY OF LAOS is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.