การนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
: ชื่อผู้วิจัย นางสาว นภัษมน เขียวนิล
: ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์
: ปฐมวัย
: ปี 2563
: 653
บทคัดย่อ (Abstract)
ชื่อเรื่อง การนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้รายงาน นางสาวนภัษมน เขียวนิล ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะชำนาญการ
หน่วยงาน กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
บทคัดย่อ
การนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนปฐมวัยก่อนและหลังการอบรมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนปฐมวัยที่มีต่อการอบรมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3) ศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนปฐมวัยที่มีต่อการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนปฐมวัยที่ปฏิบัติการสอนในระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) คู่มือการอบรมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำนวน 1 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังอบรมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนปฐมวัยที่มีต่อการอบรมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีความคิดเห็น 5 ระดับ 4) แบบประเมินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 5) แบบนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนปฐมวัยที่มีต่อการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษา พบว่า
1. ความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนปฐมวัยก่อนและหลังการอบรมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ที่เข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม
2. ความคิดเห็นในภาพรวมของครูผู้สอนปฐมวัยที่มีต่อการอบรมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน
3. ผลการประเมินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
4. ผลการนิเทศ ติดตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พบว่า ผู้สอนมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 95.90 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีผลการปฏิบัติดังนี้ ด้านการเตรียมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 97.14 ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 96.85 ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียน คิดเป็นร้อยละ 94.28 และด้านผลการเรียนรู้ของผู้เรียน คิดเป็นร้อยละ 95.35
5. ครูผู้สอนปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
การนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.