พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานของสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
THE DEVELOPMENT OF LOCAL-BASED MANAGEMENT MODEL OF THE SCHOOL UNDER THE OFFICE OF PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA IN THE NORTHEAST

: ชื่อผู้วิจัย อัมพร พินะสา
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2559
: 629

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน 2) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน การดําเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน โดยการสัมภาษณ์บุคลากรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานของรูปแบบการจัดการศึกษาที่ประสบผลสําเร็จ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ถึงเชิงโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาและปรับปรุงการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1 ดําเนินการโดยการประชุมกลุ่มย่อย ผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จํานวน 15 คน และขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและปรับปรุงการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 2 ดําเนินการโดยสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 12 คน และระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 718 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานที่ประสบผลสําเร็จ มีองค์ประกอบครอบคลุมในด้านการกําหนดทิศทางการจัดการศึกษา การบริหารหลักสูตร การจัดสถานศึกษา การมีส่วนร่วมและการกํากับ ติดตาม ประเมินผล โดยในแต่ละด้าน พบว่า มีปัญหาในการดําเนินงานที่จะต้องปรับปรุง แก้ไข

2. รูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน ของสถานศึกษาในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ 1) การมีส่วนร่วมกําหนดทิศทางการจัดการศึกษา 2) การมีส่วนร่วมการบริหารหลักสูตร 3) การมีส่วนร่วมจัดสถานศึกษา 4) การมีส่วนร่วมกํากับ ติดตาม ประเมินผล

3. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานของสถานศึกษา ในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านความมีประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก

`

พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานของสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือTHE DEVELOPMENT OF LOCAL-BASED MANAGEMENT MODEL OF THE SCHOOL UNDER THE OFFICE OF PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA IN THE NORTHEAST is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.