โมเดลเชิงพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
THE MULTI - LEVEL ANALYSIS MODEL OF FACTOR INFLUENCING EFFECTIVENESS OF PRIVATE SCHOOL IN NORTHEAST

: ชื่อผู้วิจัย อนุปกรณ์ สมบัติมี
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2558
: 475

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อสร้างโมเดลแบบพหุระดับของปัจจัยระดับนักเรียน ระดับครู และระดับโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศึกษาปัจจัย 3 ระดับ คือ 1) ปัจจัยระดับผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ภาวะผู้นําของผู้บริหาร พฤติกรรมผู้นําทางวิชาการ กระบวนการบริหาร วัฒนธรรมโรงเรียนและบรรยากาศโรงเรียน 2) ปัจจัยระดับครู ประกอบด้วยพฤติกรรมการสอนของครู บรรยากาศการเรียนการสอน ความผูกพันต่อโรงเรียนของครู การสนับสนุนทางสังคมของครูและแรงจูงใจในการทํางานของครู 3) ปัจจัยระดับนักเรียน ประกอบด้วย การส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง ความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียน แรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน การใช้เวลาในการเรียนของนักเรียนและเจตคติต่อการเรียนของนักเรียน ซึ่งประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 4 ด้าน ประกอบด้วย ความสามารถในการยืดหยุ่นปรับตัว ความสามารถในการจัดการทรัพยากร ความพึงพอใจงานของครูและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้โรงเรียนทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างจํานวน 60 โรงเรียน กําหนดโรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ ทําให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร จํานวน 60 คน ครูผู้สอน จํานวน 120 คน และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จํานวน 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 สอบถามผู้บริหาร โรงเรียน จํานวน 102 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .947 ฉบับที่ 2 สอบถามครูผู้สอน จํานวน 76 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 922 ฉบับที่ 3 สอบถามนักเรียน จํานวน 71 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 899 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์พหุระดับด้วยสมการถดถอย กรณีวิเคราะห์ 3 ระดับ

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในระดับมากที่สุด

2. ปัจจัยระดับนักเรียน พบว่า ความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียน แรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน และพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน การใช้เวลาในการเรียนของนักเรียนและเจตคติต่อการเรียนของนักเรียน มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 05 ตามลําดับ มีประสิทธิภาพการทํานายได้ร้อยละ 25.53

3. ปัจจัยระดับครู พบว่า ความผูกพันต่อโรงเรียนของครู การสนับสนุนทางสังคมของครูและแรงจูงใจในการทํางานของครู มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 05 ตามลําดับ มีประสิทธิภาพการทํานายได้ร้อยละ 57.14

4. ปัจจัยระดับผู้บริหารโรงเรียน พบว่า บรรยากาศโรงเรียนมีอิทธิพลต่อประสิทธิผล โรงเรียนเอกชนและมีประสิทธิภาพการทํานายได้ร้อยละ 87.42

`

โมเดลเชิงพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือTHE MULTI - LEVEL ANALYSIS MODEL OF FACTOR INFLUENCING EFFECTIVENESS OF PRIVATE SCHOOL IN NORTHEAST is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.