รูปแบบการเรียนรู้ตํานานเบญจนารีศรีอุดรโดยผ่านการแสดงนาฏศิลป์ สําหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
A MODEL OF LEARNING ON BENCHANARI SRI UDON THROUGH DRAMATIC ARTS FOR BASIC EDUCATION STUDENTS
: ชื่อผู้วิจัย นภัย วายโสกา
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2558
: 596
บทคัดย่อ (Abstract)
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ตํานานบุคคลสําคัญของจังหวัดอุดรธานี การเขียนตํานานเบญจนารีศรีอุดรและการพัฒนาชุดการแสดงนาฏศิลป์ชุดเบญจนารีศรีอุดรจากตํานาน 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตํานานเบญจนารีศรีอุดร โดยผ่านการแสดงนาฏศิลป์ สําหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ตํานานเบญจนารีศรีอุดร โดยผ่านการแสดงนาฏศิลป์เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มี 3 ระยะ 9 ตอน 19 กลุ่มเป้าหมาย 6 กรอบการวิจัย พบว่า 1) มี 11 ตํานานเป็นสตรี 5 คน บุรุษ 6 คน พญานาค 1 ตน ในอําเภอบ้านผือ คือ ท้าวสะลั่นกุ้นและนางอุสา-ท้าวบารส นางเพ็ญในอําเภอเพ็ญ นางไอ่คํา-ท้าวผา แดงไอ่ ในอําเภอกุมภวาปี นางอินถวา ในอําเภอวังสามหมอ นางศรี-ท้าวจําปี ในอําเภอศรีธาตุ เชียงงามและเชียงมังในอําเภอหนองหานและพญาศรีสุทโธนาคราชในอําเภอบ้านดุง ในสมัยล้านช้างวิถีชีวิตตามฐานะทางสังคมมีคุณค่าเป็นอัตลักษณ์ คุณงามความดี การเขียนตํานานเบญจนารีศรีอุดรมีองค์ประกอบคือชาติกําเนิด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัยและคุณประโยชน์ และแสดง นาฏศิลป์ ประกอบด้วย ท่าฟ้อนนาฏศิลป์ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนภาษาท่าและนาฏยศัพท์ นาฏศิลป์ไทยแสดงเป็นหมู่คณะประกอบเพลงอีสาน แต่งกายผสมผสานยุคล้านช้าง/ทวาราวดี เครื่องประดับทองใช้มาลัยกระทงหงส์ หัวแมวทองประกอบ 2) ได้รูปแบบการเรียนรู้ตํานานเบญจนารีศรีอุดรโดยผ่านการแสดงนาฏศิลป์สําหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ที่มาและความสําคัญ หลักการ จุดมุ่งหมาย คําอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม ศ.21202 ผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ กรอบความคิดการจัดการเรียนรู้ของหน่วย โครงสร้างรายวิชา เนื้อหา ผังมโนทัศน์การบูรณาการกับสาระอื่น สื่อนวัตกรรม (นิทาน เส้นกาลเวลา) วัดและประเมินผล เอกสารประกอบรูปแบบการเรียนรู้ตํานานเบญจนารีศรีอุดร โดยผ่านการแสดงนาฏศิลป์สําหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ที่มาและความจําเป็นจุดประสงค์ เนื้อหา ผังมโนทัศน์การบูรณาการ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินตามสภาพจริง รูปแบบการอบรมครูนาฏศิลป์ ประกอบด้วย ที่มาและความสําคัญ หลักการ เทคนิคและวิธีการฝึกอบรม เนื้อหา คุณลักษณะของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ความรู้และความสามารถของวิทยากร คุณลักษณะของวิทยากร สถานที่ เครื่องมือ ระยะเวลาและค่าใช้จ่าย 3) ผลหลังร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรม ผลประเมินเชิงประจักษ์ 19 ครั้ง ผ่านระดับดีถึงดีมาก ผลการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจการแสดงนาฏศิลป์อยู่ในระดับพึงพอใจมากถึงพึงพอใจมากที่สุด ผลการตอบแบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการอบรมครูนาฏศิลป์อยู่ในระดับเหมาะสมมากถึงเหมาะสมมากที่สุด
รูปแบบการเรียนรู้ตํานานเบญจนารีศรีอุดรโดยผ่านการแสดงนาฏศิลป์ สําหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานA MODEL OF LEARNING ON BENCHANARI SRI UDON THROUGH DRAMATIC ARTS FOR BASIC EDUCATION STUDENTS is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.