การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ภาษาไทย สําหรับนักเรียนคละชั้นระดับประถมศึกษาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดสมดุลภาษา และทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่าน
DEVELOPING THAI LEARNING MANAGEMENT STRATEGY FOR MULTIGRADE PRIMARY STUDENTS BY APPLYING BALANCED LITERACY APPROACH AND SOCIAL CONSTRUCTIVIST THEORY TO ENHANCE READING ABILITY
: ชื่อผู้วิจัย ณัชสุดา คํามุกชิก
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2558
: 898
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ภาษาไทย สําหรับนักเรียนคละชั้นระดับประถมศึกษา โดยประยุกต์ใช้แนวคิตสมดุลภาษาและทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านที่มีคุณภาพ วิธีดําเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถด้านการอ่านตามแนวคิดสมดุลภาษาและทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม ระยะที่ 2 พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 โรงเรียน เจซี.บ้านอินทร์แปลง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ 2) แบบวัดความสามารถด้านการอ่านซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ แบบวัดความสามารถด้านการอ่านชนิดร้อยแก้ว และแบบวัดความสามารถด้านการอ่านชนิดร้อยกรอง และ 3) แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One - group Pretest - Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ด้วย The Wilcoxon, Matched-pairs, Sign Ranks Test และ The Binomial Test
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ภาษาไทยสําหรับนักเรียนคละชั้นระดับประถมศึกษา โดยประยุกต์ใช้แนวคิดสมดุลภาษาและทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นสร้างแรงจูงใจ 2) ขั้นฝึกทักษะการอ่าน 3) ขั้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ 5) ขั้นประเมินผล ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ พบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่าน ออกเสียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 2) นักเรียนมีความสามารถ ด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ภาษาไทย สําหรับนักเรียนคละชั้นระดับประถมศึกษาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดสมดุลภาษา และทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านDEVELOPING THAI LEARNING MANAGEMENT STRATEGY FOR MULTIGRADE PRIMARY STUDENTS BY APPLYING BALANCED LITERACY APPROACH AND SOCIAL CONSTRUCTIVIST THEORY TO ENHANCE READING ABILITY is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.