การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยบูรณาการทฤษฎีการสร้างความรู้และแนวคิดการเชื่อมโยงนิยมเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
THE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT STRATEGY BY INTEGRATING CONSTRUCTIVISM THEORY AND CONNECTIVISM APPROACH TO DEVELOP THE 21ST CENTURY SKILLS OF LOWER MATTAYOMSUKSA STUDENTS
: ชื่อผู้วิจัย อรุณรัสมิ์ บำรุงจิตร
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2558
: 1141
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยบูรณาการทฤษฎีการสร้างความรู้และแนวคิดการเชื่อมโยงนิยม 2) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนต้นกลุ่มทดลองที่มีต่อการจัดการการเรียนรู้โดยยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหมากแข้ง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน ประกอบด้วยนักเรียน ห้องละ 40 คน โดยจับฉลากเป็นห้องควบคุมและห้องทดลองใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Developmental research) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทำการทดสอบที่แบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA)
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยบูรณาการทฤษฎีการสร้างความรู้และแนวคิดการเชื่อมโยงนิยม มีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน 3) หลักการของยุทธศาสตร์ 4) จุดมุ่งหมายของยุทธศาสตร์ 5) การจัดการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 5.1) ขั้นก่อนการจัดการเรียนรู้ 5.2) ขั้นระหว่างการจัดการเรียนรู้ (DFFA) มีขั้นตอนย่อย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ (Define and Decide) ขั้นสร้างความรู้ (Focus on) ขั้นสะท้อนความคิด (Feedback) และขั้นประเมินผล (Assessment) 5.3) ขั้นหลังการจัดการเรียนรู้6) แหล่งเรียนรู้ 7) วัสดุสนับสนุนการเรียนรู้ 8) ความร่วมมือบนเว็บไซต์สังคมเครือข่าย 9)บทบาทผู้สอน 10) บทบาทผู้เรียน และ 11) การประเมินตามยุทธศาสตร์
2. ผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ พบว่า
2.1 นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดวิเคราะห์ การรู้สารสนเทศและความรับผิดชอบต่อสังคมหลังทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมสูงกว่าก่อนทดลอง
2.2 นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านการคิดวิเคราะห์ การรู้สารสนเทศหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน
2.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการการเรียนรู้โดยใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด
การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยบูรณาการทฤษฎีการสร้างความรู้และแนวคิดการเชื่อมโยงนิยมเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นTHE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT STRATEGY BY INTEGRATING CONSTRUCTIVISM THEORY AND CONNECTIVISM APPROACH TO DEVELOP THE 21ST CENTURY SKILLS OF LOWER MATTAYOMSUKSA STUDENTS is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.