การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่ใช้สมองเป็นฐานโดยบูรณาการการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
THE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT STRATEGY FOR SOCIAL STUDIES USING BRAIN BASED LEARNING BY INTEGRATING BUDDHIST INSTRUCTION TO ENHANCE THE CRITICAL THINKING ABILITY OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
: ชื่อผู้วิจัย จําเนียร โพสาวัง
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2558
: 941
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยบูรณาการการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่ใช้สมองเป็นฐานโดยบูรณาการการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา วิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนโสกก่ามวิทยา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2 ห้องเรียนๆละ 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มเป็นกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้ดามคู่มือครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดการคิดอย่างวิจารณญาณ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้แบบแผนการทดลองแบบ Pretest-Posttest Control Group Design การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที่แบบอิสระ
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยบูรณาการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาที่พัฒนาขึ้น ทําให้ได้ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) จุดมุ่งหมายของยุทธศาสตร์ 2) แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ 3) หลักการของยุทธศาสตร์ 4) องค์ประกอบของยุทธศาสตร์ด้านกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการสํารวจประเด็น ขั้นการให้ความรู้พื้นฐาน ขั้นการวิเคราะห์ ขั้นการเรียนรู้สถานการณ์ ขั้นวางแผนการจัดการ ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ องค์ประกอบต้านการจัดสภาพแวดล้อมส่งเสริมการเรียนรู้ 5) การประเมินผลยุทธศาสตร์ ผลการประเมินยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ พบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยบูรณาการการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนได้คะแนน 26.17 คิดเป็นร้อยละ 87.23 และคะแนนที่ได้ไม่น้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่ใช้สมองเป็นฐานโดยบูรณาการการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คะแนนหลังเรียนได้คะแนน 32.80 คิดเป็นร้อยละ 82.00 และคะแนนที่ได้ไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80
การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่ใช้สมองเป็นฐานโดยบูรณาการการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นTHE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT STRATEGY FOR SOCIAL STUDIES USING BRAIN BASED LEARNING BY INTEGRATING BUDDHIST INSTRUCTION TO ENHANCE THE CRITICAL THINKING ABILITY OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.