รูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลําภู
THE MODEL OF SOCIAL NETWORK REINFORCEMENT INFLUENCING THE QUALITY OF THE ORGANIZATION AND ADMINISTRATION OF NONG BUA LAMPHU LOCAL GOVERNMENT

: ชื่อผู้วิจัย พิตรพิบูล ไชยเมือง
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: อื่นๆ
: ปี 2557
: 503

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลําภู 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบปัจจัยการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้วิธีการศึกษาแบบผสม โดยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมจากผู้นําทางการปกครอง ปราชญ์ชาวบ้าน ประธานกลุ่มองค์กร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเนื้อหา สําหรับวิธีการศึกษาเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ประธานหรือผู้แทนกลุ่มองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญและมีบทบาทในการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคม จํานวน 530 กลุ่มองค์กร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสมการโครงสร้าง (SEM) โดยโปรแกรมสําเร็จรูป SPSS และ LISREL

ผลการศึกษา พบว่า

1. องค์ประกอบปัจจัยการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยเครือข่ายทางสังคม มี 9 ตัวแปร 2) ปัจจัยทุนทางสังคม มี 9 ตัวแปร 3) ปัจจัยกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคม มี 7 ตัวแปร 4) ปัจจัยการมีส่วนร่วมในการดําเนินการ มี 7 ตัวแปร 5) ปัจจัยการมีส่วนร่วมในการบริหาร มี 4 ตัวแปร 6) ปัจจัยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มี 4 ตัวแปร และ 7) ปัจจัยคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 10 ตัวแปร ซึ่งอธิบายความแปรปรวนสะสมการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร้อยละ 65.15

2. รูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะได้รับอิทธิพลทางตรงสูงสุดจากปัจจัยการมีส่วนร่วมในการดําเนินการ (β=0.56) และปัจจัยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (β =0.26) ในขณะเดียวกัน ยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดจากปัจจัยทุนทางสังคมและปัจจัยเครือข่ายทางสังคม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถพยากรณ์คุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร้อยละ 46.50

`

รูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลําภูTHE MODEL OF SOCIAL NETWORK REINFORCEMENT INFLUENCING THE QUALITY OF THE ORGANIZATION AND ADMINISTRATION OF NONG BUA LAMPHU LOCAL GOVERNMENT is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.