รูปแบบการเสริมสร้างจิตสาธารณะสําหรับนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดอุดรธานี
PUBLIC CONSCIOUSNESS ENHANCEMENT MODEL FOR SECONDARY SCHOOL STUDENTS IN UDON THANI PROVINCE
: ชื่อผู้วิจัย ชาติชาย กิ่งมิ่งแฮ
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2557
: 552
บทคัดย่อ (Abstract)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลในการเสริมสร้างจิตสาธารณะ 2) ศึกษาองค์ประกอบปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเสริมสร้างจิตสาธารณะ 3) สร้างรูปแบบการเสริมสร้างจิตสาธารณะสําหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดอุดรธานี ประชากร ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดอุดรธานี ที่สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 จํานวน 56,108 คน กลุ่มตัวอย่าง 900 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามความคิดเห็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัยกลางในการแปลผลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structure Equation Modeling: SEM) โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 และการวิเคราะห์ความเห็นผู้เชี่ยวชาญด้วยฐานนิยม (Mode)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลในการเสริมสร้างจิตสาธารณะที่มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมสูงสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านจิตสํานึกเกี่ยวกับตนเอง รองลงมาได้แก่ ด้านจิตสํานึกเกี่ยวกับสังคมและด้านจิตสํานึกเกี่ยวกับผู้อื่นตามลําดับ
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเสริมสร้างจิตสาธารณะพบว่า องค์ประกอบปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดได้แก่ การเสริมสร้างจิตสํานึกเกี่ยวกับผู้อื่น รองลงมา ได้แก่ การเสริมสร้างจิตสํานึกเกี่ยวกับตนเองและองค์ประกอบปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุด ได้แก่ การเสริมสร้างจิตสํานึกเกี่ยวกับผู้อื่น รองลงมา ได้แก่ การเสริมสร้างจิตสํานึกเกี่ยวกับตนเองและการ เสริมสร้างจิตสํานึกในหน้าที่โดยการส่งผ่านความฉลาดทางอารมณ์ ทั้งหมดนี้สามารถอธิบายความผันแปร ได้ร้อยละ 88
ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการเสริมสร้างจิตสาธารณะสําหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดอุดรธานี โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าผ่านเกณฑ์ประเมินทั้ง 18 ตัวชี้วัด จําแนกเป็นด้านความมีประโยชน์ 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การอภิปรายผล ตีความหมายผลการวิจัย สื่อความหมายเพื่อความเข้าใจของผู้นําไปใช้ได้อย่างชัดเจน 2) มีความสอดคล้องกับความต้องการและสนใจของผู้ที่จะนําผลการวิจัยไปใช้ 3) มีการระบุผู้เกี่ยวข้องหรือผู้นํารูปแบบไปใช้ 4 ) ข้อค้นพบการวิจัย มีการรายงานให้หน่วยงานหรือองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบตามระยะเวลาที่กําหนด 5) มีการเผยแพร่แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทันตามกําหนดเวลา ด้านความเป็นไปได้ 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) มีความเป็นไปได้ในการนําผลการวิจัยไปปฏิบัติ 2) มีความเท่าทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน 3) มีประสิทธิผลและคุ้มค่ากั ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อนําผลการวิจัยไปใช้ ด้านความเหมาะสม 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) งานวิจัยมีความเหมาะสมกับลักษณะทางสังคมศาสตร์กับกลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน 2) ผลการวิจัยมีการกําหนดแบบแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบไว้อย่างชัดเจน 3) มีข้อเสนอแนะในการนํารูปแบบไปใช้และพัฒนาไว้อย่างชัดเจนและด้านความถูกต้อง 7 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) มีการระบุวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจน 2) มีการอภิปรายผลและวิธีดําเนินการไว้อย่างชัดเจน 3) มีการสรุปผลอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้ผู้นําไปใช้เข้าใจ 4) แหล่งข้อมูลสารสนเทศมีความเชื่อถือได้ 5) มีการวิเคราะห์บริบททางพฤติกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ ของสิ่งที่ดําเนินการหรืองานวิจัยไว้ 6) มีการวัดความตรงในลักษณะที่ทําให้เกิดความมั่นใจของรูปแบบ 7) มีการวัดความเที่ยงในลักษณะที่ทําให้เกิดความมั่นใจของรูปแบบ
รูปแบบการเสริมสร้างจิตสาธารณะสําหรับนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดอุดรธานีPUBLIC CONSCIOUSNESS ENHANCEMENT MODEL FOR SECONDARY SCHOOL STUDENTS IN UDON THANI PROVINCE is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.