การบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1
THE SCHOOL BASE MANAGEMENT EFFECTING ACADEMIC ADMINISTRATION OF BASIC LAMPHUN EDUCATION PRIMARY SERVICE AREA OFFICE 2

: ชื่อผู้วิจัย ดร. พิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์
: ตำแหน่ง -
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2562
: 4186

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 2)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจากข้อมูลของจำนวนประชากรรวมทั้งหมด ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต1 โดยการใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie; & Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และกำหนดสัดส่วนขนาดของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละอำเภอ รวมทั้งสิ้นจำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) 5 ระดับ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ ประกอบด้วย ตำแหน่งหน้าที่ เพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา ช่วงประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษาที่ตนเอง 2) การจัดระบบบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 3)การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต1 พบว่าโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ( =4.05) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามากที่สุดคือหลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้อยู่ในระดับมาก ( =4.07) รองลงมาคือหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก ( =4.07) อยู่ในระดับมาก ( =4.07) ส่วนการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ด้านการวัดผลและการประเมินผลการศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ( =4.13) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามากที่สุดคือการนิเทศการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( =4.24) รองลงมาคือการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( =4.14) 2)การบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ประกอบด้วย ด้านหลักการกระจายอำนาจ ด้านหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านหลักภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน ด้านหลักการพัฒนาทั้งระบบ ด้านหลักการบริหารตนเอง และด้านหลักการรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง .72 ถึง .83 โดยทุกด้านมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3)การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบมีขั้นตอน เพื่อหาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พยากรณ์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 โดยรวมทั้ง 6 พบว่า ตัวแปรที่สามารถอธิบายความผันแปรที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 3 ด้านคือหลักการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน หลักการพัฒนาทั้งระบบ หลักการบริหารตนเอง ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรที่มีผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาโดยรวมได้ร้อยละ 83.70 (R2 = .837) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

`

การบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 THE SCHOOL BASE MANAGEMENT EFFECTING ACADEMIC ADMINISTRATION OF BASIC LAMPHUN EDUCATION PRIMARY SERVICE AREA OFFICE 2 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.