รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครราชสีมา
Development Model of Team Leadership Behavior of the Small Primary School Administrators in Nakhon Ratchasima Province

: ชื่อผู้วิจัย นางกฤษณา พงษ์วาปี
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2558
: 673

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมที่พึงประสงค์ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา และเพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครราชสีมา

วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา 2) การศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา 3) การสร้างรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา และ 4) การประเมินรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา ที่ดำรงตำแหน่งในปีการศึกษา 2557 จำนวน 245 คน การเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวิจัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำทีม วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยการมาวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Factor analysis) การหาค่าเฉลี่ย X และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า

1. ผลการศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมที่พึงประสงค์ 6 ด้าน คือ ด้านผู้นำทีมมี 8 พฤติกรรม ด้านสมาชิกทีมมี 8 พฤติกรรม ด้านเป้าหมายของสมาชิกทีมมี 7 พฤติกรรม ด้านบทบาทของสมาชิกทีมมี 8 พฤติกรรม ด้านมนุษย์สัมพันธ์มี 7 พฤติกรรม และด้านการสื่อสารมี 7 พฤติกรรม

2. ผลการศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมและรายด้าน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือด้านผู้นำทีม และด้านบทบาทของสมาชิกทีม อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านสมาชิกทีม ด้านเป้าหมายของทีม และด้านมนุษย์สัมพันธ์ และองค์ประกอบภาวะผู้นำทีมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 291.99, df = 580, p-value = 1.00, RMSEA = 0.00, CFI = 1.00, ACFI = 0.91)

3. สร้างรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครราชสีมา มี 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ แนวทางการดำเนินการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีม ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) กลุ่มเป้าหมาย 4) การดำเนินการพัฒนา ส่วนที่ 2 คือ กระบวนการพัฒนา มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ความต้องการ 2) การออกแบบเนื้อหา 3) การฝึกสถานการณ์ และ 4) การประเมินผล

4. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครราชสีมา โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (X = 3.93-4.60, S.D. = 45-73) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (X = 3.87-4.53, S.D. = 41-481)

`

รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครราชสีมาDevelopment Model of Team Leadership Behavior of the Small Primary School Administrators in Nakhon Ratchasima Province is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.