การพัฒนาภาวะผู้นําใฝ่บริการของผู้นําวิชาการด้านการศึกษาพิเศษ
The Development of Servant Leadership for Academic Leader in Special Education

: ชื่อผู้วิจัย นางวาระดี ชาญวิรัตน์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2558
: 655

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นําใฝ่บริการที่จําเป็นสําหรับผู้นําวิชาการต้านการศึกษาพิเศษ เพื่อศึกษาภาวะผู้นําใฝ่บริการของผู้นําวิชาการด้านการศึกษาพิเศษ เพื่อสร้างหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นําใฝ่บริการของผู้นําวิชาการด้านการศึกษาพิเศษ และเพื่อศึกษาผลการพัฒนาภาวะผู้นําใฝ่บริการ การดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ตามวัตถุประสงค์โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารศึกษานิเทศก์และคณาจารย์ด้านการศึกษาพิเศษ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นําใฝ่บริการที่จําเป็นสําหรับผู้นําด้านการศึกษาพิเศษ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ความซื่อสัตย์สุจริต ความเชื่อถือ ความเสียสละ ความอ่อนน้อมถ่อมใจ 2) ด้านการประสานสร้างความสัมพันธ์ประกอบด้วยความเห็นอกเห็นใจ การฟัง การสร้างปฏิสัมพันธ์และการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ 3) ด้านการพิทักษ์สิทธิ ได้แก่ การเป็นผู้อารักขาเยียวยา ตระหนักรู้และเสริมพลังมุ่งพัฒนาคน 4) ด้านวิสัยทัศน์ ประกอบด้วย การมองการณ์ไกล การสร้างมโนทัศน์ การโน้มน้าว การคิดสร้างสรรค์

2. ภาวะผู้นําใฝ่บริการที่ปฏิบัติควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนา ด้านวิสัยทัศน์ 1) สร้างแรงบันดาลใจให้ปฏิบัติงานอย่างดีเลิศ 2) การริเริ่มให้มีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ รูปแบบเชิงรุก 3) ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ควบคุมระดับต่ำแบบประชาธิปไตย 5) กําหนดภาพอนาคตที่เปลี่ยนแปลง ด้านการพิทักษ์สิทธิ 1) ช่วยฟื้นฟูสภาวะจิตใจให้สงบและผ่อนคลาย 2) ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3) รณรงค์พิทักษ์สิทธิของเด็กทุกคนโดยเสมอภาค 4) ช่วยให้ผู้อื่นเอาชนะข้อจํากัด และพัฒนาจุดเด่น 5) ส่งเสริมให้ ผู้ร่วมงานรับผิดชอบตามความถนัด ด้านการประสานสร้างความสัมพันธ์ 1) ทําเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายและท้าทาย 2) สร้างความรู้สึกของกลุ่มวิชาชีพ 3) ค้นหาความสามารถที่ซ่อนอยู่ของผู้ตามและสนับสนุนให้แสดงออกมา 4) ทําหน้าที่บริการอย่างดีที่สุดรู้เท่าทันอารมณ์ 5) เป็นผู้ฟังที่ดี ด้านคุณธรรมจริยธรรม คือ 1) เชื่อมั่นในศักยภาพที่มีอย่างไม่จํากัดของแต่ละบุคคลและยอมรับเขาอย่างที่เขาเป็น 2) ขยันอุทิศตนช่วยเหลือและแก้ปัญหาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษอย่างเป็นระบบ 3) ให้อภัยในความผิดพลาดของเพื่อนร่วมงาน ให้โอกาสแก้ไขกลับ 4) เมื่อมีการละเมิดผู้อื่นในขณะปฏิบัติ ขอโทษเสมอถึงแม้จะไม่ได้ตั้งใจ 5) ตระหนักว่าต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญในหลักวิชาการศึกษาพิเศษ

3. หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นําใฝ่บริการของผู้นําวิชาการด้านการศึกษาพิเศษ การจัดทําหลักสูตรการฝึกอบรมมี 6 ขั้นตอน ผลตรวจสอบมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ที่ระดับเหมาะสมมาก (X = 4.46, S.D. = 48)

4. ผลการพัฒนาภาวะผู้นําใฝ่บริการจากการอบรมตามหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นําใฝ่บริการ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้หลังการฝึกอบรมมากกว่าก่อนการฝึกอบรม ก่อนการอบรมมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.25 ความพึงพอใจที่มีต่อการอบรม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 4.31, S.D. = 26)

`

การพัฒนาภาวะผู้นําใฝ่บริการของผู้นําวิชาการด้านการศึกษาพิเศษThe Development of Servant Leadership for Academic Leader in Special Education is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.