การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้านการวิจัยการเรียนการสอนของครูผู้สอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเครือข่ายการนิเทศกลุ่มจังหวัด เครือข่ายที่ 15
A Model Development of The Internal Supervision of Instructional Research of Teachers in The Basic Educational Institutions Under the Primary Educational Service Area Office of the 15th Provincial Supervision Network
: ชื่อผู้วิจัย บุญสุ่ม อินกองงาม
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2559
: 1281
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการนิเทศภายในและการวิจัยการเรียนการสอนของครูผู้สอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเครือข่ายการนิเทศกลุ่มจังหวัดเครือข่ายที่ 15 2) สร้างและประเมินรูปแบบการนิเทศภายในด้านการวิจัยการเรียนการสอนของครูผู้สอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) ประเมินความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศภายในด้านการวิจัยการเรียนการสอนของครูผู้สอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการนิเทศภายในและการวิจัยการเรียนการสอนของครูผู้สอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเครือข่ายการนิเทศกลุ่มจังหวัด เครือข่ายที่ 15 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าวิชาการ และครูผู้สอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเครือข่ายการนิเทศกลุ่มจังหวัด เครือข่ายที่ 15 ประกอบด้วย จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดเขียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับกลับคืนมาจำนวน 291 ฉบับ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลได้จำนวน 290 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 81.92 2) สร้างและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศภายในและการวิจัยการเรียนการสอนของครูผู้สอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยการจัดประชุมกลุ่มสนทนาผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน ทำการวิจารณ์และให้ข้อเสนอแนะ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศภายในและการวิจัยการเรียนการสอนของครูผู้สอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเครือข่ายการนิเทศกลุ่มจังหวัด เครือข่ายที่ 15 จำนวน 100 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลได้ จำนวน 78 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 78 ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการนิเทศภายในและการวิจัยการเรียนการสอนของครูผู้สอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเครือข่ายการนิเทศกลุ่มจังหวัด เครือข่ายที่ 15 โดยภาพรวมสถานศึกษามีการนิเทศภายในอยู่ในระดับน้อย มีปัญหาและความต้องการในการนิเทศภายในอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการวิจัยการเรียนการสอนมีการดำเนินการอยู่ในระดับน้อย มีปัญหาอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการนิเทศภายในด้านการวิจัยการเรียนการสอน มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและแนวคิด
2) วัตถุประสงค์ 3) สาระสำคัญของรูปแบบ 4) การนำรูปแบบการนิเทศภายในด้านการวิจัยการเรียนการสอนสู่การปฏิบัติ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ และผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ
3. รูปแบบการนิเทศภายในด้านการวิจัยการเรียนการสอน โดยภาพรวมมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้านการวิจัยการเรียนการสอนของครูผู้สอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเครือข่ายการนิเทศกลุ่มจังหวัด เครือข่ายที่ 15A Model Development of The Internal Supervision of Instructional Research of Teachers in The Basic Educational Institutions Under the Primary Educational Service Area Office of the 15th Provincial Supervision Network is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.