การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
A Model Development of The Learning Management for Promoting The Desirable Characteristics of Students in The Upper Northeastern Region in The 21 Century
: ชื่อผู้วิจัย เชาวกุล พรมใจ
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2560
: 1787
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและ 3) เพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ 1) การพัฒนารูปแบบ โดยการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิ และการจัดกลุ่มสนทนาผู้ทรงคุณวุฒิ 2) การตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 3) การยืนยันและปรับปรุงรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนฉบับสมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) สาระสำคัญของรูปแบบ มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan: P) ขั้นที่ 2 การฝึกปฏิบัติ (Activity: A) ขั้นที่ 3 การตรวจสอบ (Check: C) ขั้นที่ 4 ผลสะท้อนกลับ (Effect: E) 4) แนวทางการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติและ 5) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปสู่ความสำเร็จ รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พบว่า รูปแบบมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
3. ผลการยืนยันความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนภาพรวมเห็นด้วยร้อยละ 100 ทุกองค์ประกอบ
การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนA Model Development of The Learning Management for Promoting The Desirable Characteristics of Students in The Upper Northeastern Region in The 21 Century is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.