รูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตภาคเหนือตอนบน
A Model of Cooperating Status Between the Small Sized Schools and Their Communities in the Upper North Part of Thailand
: ชื่อผู้วิจัย ทัศนีย์ บุญมาภิ
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2559
: 980
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตภาคเหนือตอนบน 2) พัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตภาคเหนือตอนบน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตภาคเหนือตอนบน แบบศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนที่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ปกครองนักเรียนที่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นําชุมชนที่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน จํานวน 1,758 คน จาก 293 โรงเรียน มีผู้ประเมินโรงเรียนละ 6 คน และนํามาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้การสังเกตสถานที่และสภาพแวดล้อมโรงเรียน การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู และชุมชนของโรงเรียนที่มีสภาพความร่วมมือสูงสุดของแต่ละจังหวัด 8 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 ทําการยกร่างรูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเขตภาคเหนือตอนบน โดยการจัดทํากลุ่มสนทนา (Focus Group) และประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 8 คน ตรวจสอบความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบโดยผู้บริหาร ครู และชุมชน จํานวน 105 คน จาก 35 โรงเรียน มีผู้ประเมินโรงเรียนละ 3 คน นํามาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตภาคเหนือตอนบน ผลการศึกษาด้านร่วมคิด ด้านร่วมวางแผน ด้านร่วมดําเนินการ ด้านติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลางทุกด้านจากการศึกษาสภาพปัจจัย เทคนิควิธีการและองค์ประกอบต่าง ๆ ต่อกระบวนการและระดับการให้ความร่วมมือของชุมชนของโรงเรียนที่ชุมชน ให้ความร่วมมือสูงสุด 8 โรงเรียน ใน 8 จังหวัดเขตภาคเหนือตอนบน ต่อภารกิจหลักของโรงเรียนพบว่า พฤติกรรมที่แสดงออกภารกิจด้านการบริหารด้านที่ให้ความร่วมมือมากที่สุด คือ ภารกิจด้านการบริหารงบประมาณให้ความร่วมมือ 3 ด้าน คือ ด้านร่วมคิด ร่วมวางแผนและร่วมดําเนินการในการจัดหาเงินด้วยวิธีที่หลากหลายจากองค์กรต่าง ๆ ส่วนอีก 3 งานนั้นชุมชนให้ความร่วมมือทั้ง 4 ด้าน คือ ทั้งในด้านร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดําเนินการ ร่วมติดตามผลและประเมินผล
2. รูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตภาคเหนือตอนบน มีองค์ประกอบต่าง ๆ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการของรูปแบบ ใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน หลักความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน หลักการพึ่งตนเองของโรงเรียนและหลักการพัฒนาตนเองของโรงเรียน ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอแนวทางในการจัดการให้ชุมชน เข้ามาให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก และเพื่อนําเสนอแนวทางในการนํารูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไปใช้ในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน ส่วนที่ 3 สาระสําคัญของรูปแบบ ประกอบด้วยมิติด้านหน้าที่ทางการบริหาร ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การนําและการกํากับติดตาม ในมิติด้านภารกิจการบริหารสถานศึกษา ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคลากรและการบริหารงานทั่วไปและในมิติคุณลักษณะของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาและชุมชนที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือ ส่วนที่ 4 แนวทางการนํารูปแบบไปใช้ โดยหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสําเร็จ เงื่อนไขของรูปแบบในโรงเรียนขึ้นอยู่กับผู้บริหารสถานศึกษาและครู ส่วนชุมชนขึ้นอยู่กับความตระหนักเห็นความสําคัญ และประโยชน์ที่ได้รับจากการให้ความร่วมมือในการประเมินรูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (X = 4.82, S.D. = 0.38) (X = 4.65, S.D. = 0.48) (X = 4.63, S.D. = 0.49) ตามลําดับ
รูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตภาคเหนือตอนบนA Model of Cooperating Status Between the Small Sized Schools and Their Communities in the Upper North Part of Thailand is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.