แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
A Guideline for Development Factors Affecting of Educational Quality Management of the Secondary School in the Lower Northeastern Region
: ชื่อผู้วิจัย กมลนัทธ์ นะราวงศ์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2559
: 796
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตรวจความสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาที่กำหนดขึ้น ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ ตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ซึ่งมี 3 ปัจจัย ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านโรงเรียน 2) ปัจจัยด้านครูผู้สอน 3) ปัจจัยด้านนักเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามในระดับดีและดีมาก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) จำนวน 80 โรงเรียน มีผู้ให้ข้อมูล 400 คน ตอนที่ 3 ร่างแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตอนที่ 4 ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยจัดประชุมกลุ่มสนทนากับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และตอนที่ 5 ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างกับผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้าฝ่ายวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างจำนวน 40 คน ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี
2. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ลำดับดังนี้ ปัจจัยด้านโรงเรียน ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านนักเรียน ตามลำดับปัจจัย 2 ด้าน จาก 3 ด้าน ที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาได้ร้อยละ 67.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ปัจจัยด้านโรงเรียนและปัจจัยด้านครูผู้สอน
3. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทั้ง 2 ด้าน คือ ปัจจัยด้านโรงเรียนและปัจจัยด้านครูผู้สอน ประกอบด้วย สาระการพัฒนา จุดประสงค์ แนวทางการพัฒนา และวิธีการประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด จากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ตามการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าฝ่ายวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างA Guideline for Development Factors Affecting of Educational Quality Management of the Secondary School in the Lower Northeastern Region is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.