การศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
A Study of Administrative Factors Affecting the School Commitment of the Private School Teachers in Lower Area of Northeastern of Thailand
: ชื่อผู้วิจัย กิตติ วงษ์ชวลิตกุล
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2558
: 472
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการเพื่อสร้างความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้คือครูโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานจำนวน 306 คนแต่เก็บรวบรวมได้ 253 คนคิดเป็นร้อยละ82. 67 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปโดยหาค่าเฉลี่ยร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Pearson 's Product Moment Coefficient และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน Stepwise Multiple Regression Analysis จากนั้นมีการจัดประชุมกลุ่มสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อยืนยันผลการวิจัย ผลวิจัยพบว่า
1. ความเหมาะสมของแบบประเมินปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมทั้งฉบับอยู่ในระดับมากที่สุดที่ X = 4. 77 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงลำดับคือ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) การสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู 3) โครงสร้างระบบบริหาร 4) การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 5) การมอบหมายงานครูและ 6) การสร้างความสุขในการปฏิบัติงานและความเหมาะสมของความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับดังนี้ 1) ด้านความทุ่มเทในการปฏิบัติงาน 2) ด้านความจงรักภักดีและ 3) ด้านความศรัทธา
2. การดำเนินการบริหารปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างโดยทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากตามลำดับดังนี้ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) การสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู 3) การสร้างความสุขในการปฏิบัติงานให้แก่ครู 4) การมอบหมายงานครู 5) โครงสร้างระบบบริหารของโรงเรียนและ 6) การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูตามลำดับและครูโรงเรียนเอกชนมีระดับของความผูกพันโดยภาพรวมและและรายด้านอยู่ในระดับมากตามลำดับดังนี้ 1) ด้านความจงรักภักดี 2) ด้านความทุ่มเทในการปฏิบัติงาน 3) ด้านความศรัทธา
3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (r = 0. 800) โดยเฉพาะความผูกพันด้านความศรัทธามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการสร้างความผูกพันในระดับสูงทุกด้านยกเว้นด้านโครงสร้างระบบบริหารที่มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับกลางส่วนด้านความทุ่มเทในการปฏิบัติงานและด้านความจงรักภักดีอยู่ในระดับกลางทุกด้าน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานปรากฏว่ามีปัจจัยเพียง 3 ด้านที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 1) ด้านการสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู 2) ด้านการสร้างความสุขในการปฏิบัติงานให้แก่ครูและ 3) ด้านการมอบหมายงานครูโดยสามารถอธิบายผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนได้ร้อยละ 67.4
4. การยืนยันผลวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 ท่านเห็นด้วยกับผลการวิจัยและยืนยันว่าการดำเนินการบริหารปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความผูกพันทั้ง 6 ด้านและระดับความผูกพันของครูทั้ง 3 ด้านนั้นทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากและมีความเหมาะสม ผู้ทรงคุณวุฒิยืนยันผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารจัดการทั้ง 6 ด้านและความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนทั้ง 3 ด้านโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงและยืนยันผลการวิเคราะห์ Stepwise Multiple Regression Analysis ที่มีปัจจัยการบริหารจัดการเพียง 3 ด้านที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานปัจจัยทั้ง 3 ด้านดังกล่าวส่งผลต่อความผูกพันในระดับสูงจริง
การศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างA Study of Administrative Factors Affecting the School Commitment of the Private School Teachers in Lower Area of Northeastern of Thailand is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.