กลยุทธ์การพัฒนาวินัยในตนเองนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนบน
Strategic for Developing Self-Discipline in Primary Student's Cost of Thailand Upper Southern Area

: ชื่อผู้วิจัย ทรงศักดิ์ ช้างกลาง
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2558
: 986

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาวินัยในตนเองนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนบน 2) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของกลยุทธ์การพัฒนาวินัยในตนเองนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนบนการวิจัยในครั้งนี้แบ่งการวิจัย เป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการดําเนินงานวินัยนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนบน โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานวินัยนักเรียนและกรรมการสถานศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิที่ดําเนินงานวินัยนักเรียนที่เป็นแบบอย่างได้ จํานวน 5 โรงเรียน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้บริหาร 5 คน ครูผู้รับผิดชอบงานวินัยนักเรียน 5 คน กรรมการสถานศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน รวม 15 คน เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ค้นหาจุดอ่อนและจุดแข็งและสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและทราบอุปสรรคการดําเนินงาน วินัยนักเรียนที่ผ่านมาตอนที่ 2 การกําหนดกลยุทธ์และการพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาวินัยในตนเอง นักเรียนประถมศึกษาพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนบนปรับข้อความกลยุทธ์การพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนประถมศึกษาพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนบนให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์นํากลยุทธ์ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน อภิปรายแสดงความคิดเห็น (Focus Group) และพิจารณาถึงความเหมาะสมของกลยุทธ์การพัฒนาวินัยในตนเองนักเรียนประถมศึกษาพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนบนและ ตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การพัฒนาวินัยในตนเองนักเรียนประถมศึกษาพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนบนโดยใช้แบบประเมินความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคอร์ท (Likert's Five Rating Scale) การสุ่มตัวอย่าง (Simple Random Sampling)แบ่งเป็น 1) ผู้บริหารโรงเรียน จํานวน 119 คน 2) ครูผู้รับผิดชอบงานวินัยนักเรียนจํานวน 119 คน 3) กรรมการ สถานศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 119 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจํานวน 357 คน ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาวินัยในตนเองนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนบน ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนากลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ 1 : การสร้างความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาและองค์กรศาสนาเพื่อพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย 16 กลยุทธ์ขับเคลื่อน 4 โครงการกิจกรรม กล ยุทธ์หลักที่ 2 : การสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีแก่ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย 10 กลยุทธ์ กลยุทธ์ขับเคลื่อน 3 โครงการกิจกรรม และกลยุทธ์หลักที่ 3 : การพัฒนาพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของนักเรียนด้านความรับผิดชอบการตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามกติกาของสังคมกล ประกอบด้วย 3 ยุทธ์ย่อย 11 กลยุทธ์ขับเคลื่อน 13 โครงการกิจกรรม

2. ผลการประเมินความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของกลยุทธ์การพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนประถมศึกษาพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนบนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้รับผิดชอบงานวินัยนักเรียน และกรรมการสถานศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ระดับมากอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001

`

กลยุทธ์การพัฒนาวินัยในตนเองนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนบนStrategic for Developing Self-Discipline in Primary Student's Cost of Thailand Upper Southern Area is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.