รูปแบบการพัฒนาครูด้านการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
A Learning Development Model for School Teachers under Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization by Integration of Philosophy of Sufficiency Economy
: ชื่อผู้วิจัย ธนพร โชติชุ่ม
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2558
: 621
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาและ (3) เพื่อตรวจสอบและยืนยันความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ (1) การศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (2) การร่างรูปแบบการพัฒนาครูด้านการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมี 5 องค์ประกอบ (3) การประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบโดยการจัดกลุ่มสนทนา (4) การตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยใช้แบบสอบถามความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 480 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ (5) การยืนยันความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติโดยผู้ทรงคุณวุฒิจึงได้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการพัฒนาครูด้านการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีองค์ประกอบคือ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) สาระสำคัญของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงครอบคลุม 5 ด้าน คือ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถภาพ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพ การเรียนรู้เพื่อพัฒนามนุษยภาพ และการเรียนรู้เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (4) แนวทางการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติและ (5) เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ
2. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านวัตถุประสงค์และด้านแนวทางการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด คือ สาระสำคัญด้านการเรียนรู้เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนามนุษยภาพ ด้านเงื่อนไขการนำรูปแบบสู่ความสำเร็จสาระสำคัญ ด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถภาพ ด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพ และอันดับสุดท้าย คือ สาระสำคัญด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ
3. ผลการตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการพัฒนาครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาในการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ พบว่า มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน อันดับแรกคือ การเรียนรู้เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง รองลงมาคือ การเรียนรู้เพื่อพัฒนามนุษยภาพ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ และอันดับสุดท้ายคือ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถภาพ
4. ผลการยืนยันความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการพัฒนาครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาในการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ พบว่า ผลการยืนยันรูปแบบการพัฒนาครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาในการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ ด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถภาพ ด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพ ด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนามนุษยภาพและด้านการเรียนรู้เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไปทุกด้านซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
รูปแบบการพัฒนาครูด้านการเรียนรู้โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาA Learning Development Model for School Teachers under Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization by Integration of Philosophy of Sufficiency Economy is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.