รูปแบบการส่งเสริมการวิจัยของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
A Model of Research Promotion of Primary Education Area Office in the Upper Northern Thailand
: ชื่อผู้วิจัย วีระ สุขทอง
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2559
: 494
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดําเนินการและความต้องการการส่งเสริมการวิจัย 2) สร้างรูปแบบการส่งเสริมการวิจัย 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการส่งเสริมการวิจัย ประชากร ได้แก่ บุคลากรในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลําพูน ลําปาง แพร่ น่าน เชียงราย และพะเยา จํานวน 23 เขต ประกอบด้วยผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จํานวน 3,350 คน ผลการวิจัยพบว่า
1. การดําเนินการในด้านปัจจัยนําเข้าในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.01 ความต้องการในด้านปัจจัยนําเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.43 การดําเนินการในด้านกระบวนการในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยมาก ค่าเฉลี่ย 1.45 ความต้องการในด้านกระบวนการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.52 การดําเนินการในด้านผลผลิต ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยมาก ค่าเฉลี่ย 1.29 ความต้องการในด้านผลผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.28
2. รูปแบบที่ได้จากการวิจัย ด้านปัจจัยนําเข้ามี 7 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) กําหนดและแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติการส่งเสริมงานวิจัยไว้อย่างชัดเจน 2) กําหนดโครงสร้างหน่วยงานด้านการบริหารและส่งเสริมงานวิจัยในเขตพื้นที่ มีการมอบหมายงานให้ปฏิบัติอย่างชัดเจน 3) การสร้างแรงจูงใจที่หลากหลาย 4) การสร้างเครือข่ายการวิจัย 5) สนับสนุนทรัพยากรการวิจัย 6) กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินการวิจัย 7) แผนพัฒนาแผนกลยุทธ์ด้านการวิจัย ด้านกระบวนการ มี 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) การเสริมองค์ความรู้ด้านการวิจัย 2) สร้างระบบพี่เลี้ยง 3) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย 4) ระบบการนิเทศติดตามผลด้านผลิตมี 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) คุณภาพของงานวิจัย 2) ระบบการยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้ที่ทํางานด้านวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา 3) ผลงานวิจัยใช้พัฒนาบุคลลากร 4) การเผยแพร่งานวิจัย 5) ผู้เรียนได้รับการพัฒนา 6) การนําผลงานวิจัยมาใช้พัฒนาองค์การ
3. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบโดยรวมของรูปแบบการส่งเสริมการวิจัยของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพบว่า ด้านปัจจัยนําเข้าในรายการกําหนดและแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติการส่งเสริมงานวิจัยไว้อย่างชัดเจน การสร้างแรงจูงใจที่หลากหลาย การสร้างเครือข่ายการวิจัย สนับสนุนทรัพยากรการวิจัย กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินการวิจัย แผนพัฒนาแผนกลยุทธ์ด้านการวิจัย มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในมากที่สุด กําหนดโครงสร้างหน่วยงานด้านการบริหารและส่งเสริมงานวิจัยในเขตพื้นที่มีการมอบหมายงานให้ปฏิบัติอย่างชัดเจน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.63 และความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ย 4.51 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการในรายการจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย สร้างระบบพี่เลี้ยง การเสริมองค์ความรู้ด้านการวิจัย ระบบการนิเทศติดตามผลมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.55 และเป็นไปได้ค่าเฉลี่ย 4.55 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผลผลิต ในรายการผลงานวิจัยใช้พัฒนาบุคลลากร ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการนําผลงานวิจัยมาใช้พัฒนาองค์การ ระบบการยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้ที่ทํางานด้านวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา การเผยแพร่งานวิจัยคุณภาพของงานวิจัย มี ความเหมาะสมทุกรายการ มีค่าเฉลี่ย 4.53 อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ย 4.40 อยู่ในระดับมาก
รูปแบบการส่งเสริมการวิจัยของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนA Model of Research Promotion of Primary Education Area Office in the Upper Northern Thailand is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.