การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน
A Model of Teacher Competency Development with Education Professional Standards in the Upper Northern Thailand
: ชื่อผู้วิจัย เพ็ญพรรณ แสงเนตร
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2558
: 561
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจําเป็นของการพัฒนาสมรรถนะครู สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูสังกัดสํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน ขั้นตอนการดําเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการจําเป็นของการพัฒนาสมรรถนะครู ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับสมรรถนะและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะของครู จากผู้อํานวยการโรงเรียนและครูวิชาการที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จํานวน17 แห่ง จํานวน 434 คน นํามาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความต้องการจําเป็น นําเสนอในแบบตาราง
ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยการนําข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาจัดทํากระบวนการพัฒนาสมรรถนะครู
ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group Discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 10 ท่าน
ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบและประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาความต้องการจําเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการพัฒนาสมรรถนะตามลําดับดัชนีความต้องการจําเป็นมากที่สุดคือ ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีสมรรถนะ ตามมาตรฐานวิชาชีพทางกศีรษาคิดเป็นร้อยละ 1
2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคเหนือตอนบน มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ส่วนที่ 1 สมรรถนะครูสังกัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน ส่วนที่ 2 หลักการของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูสังกัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน และส่วนที่ 3 รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูสังกัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน
3. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมที่สุด มีค่าความเหมาะสม (X = 4.71) และค่าความเป็นไป (X = 4.81)
การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน A Model of Teacher Competency Development with Education Professional Standards in the Upper Northern Thailand is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.