รูปแบบการบริหารการควบคุมภายในด้านวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ
Academic Internal Control Administration Model For Basic Education Schools In The Northern Region of Thailand
: ชื่อผู้วิจัย สังวาลย์ วังแจ่ม
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2558
: 672
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการดําเนินการควบคุมภายใน ด้านวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ และเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการควบคุมภายใน ด้านวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ จํานวน 205 โรงเรียน กําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan ) และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกต และแบบตรวจผลการปฏิบัติงาน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร ครูหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการและครู ผู้รับผิดชอบการควบคุมภายใน ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันในการดําเนินการควบคุมภายในด้านวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาวิธีการบริหารการควบคุมภายในด้านวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ ขั้นตอนที่ 3 ยกร่างรูปแบบการบริหารการควบคุมภายในด้านวิชาการของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบและรับรองรูปแบบการบริหารการควบคุมภายในด้านวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ ขั้นตอนที่ 5 ประเมินรูปแบบการบริหารการควบคุมภายในด้านวิชาการของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ ขั้นตอนที่ 6 นําเสนอรูปแบบการบริหารการควบคุมภายในด้านวิชาการของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันในการดําเนินการควบคุมภายในด้านวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ มีการดําเนินการตามมาตรฐานการควบคุมภายใน ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินครบทั้ง 5 ด้าน การดําเนินการโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยการดําเนินการในระดับมากทุกด้านเรียงตามลําดับคือ ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม ด้านการติดตามประเมินผล ด้าน กิจกรรมการควบคุม ด้านการประเมินความเสี่ยงและด้านสารสนเทศและการสื่อสาร
2. รูปแบบการบริหารการควบคุมภายในด้านวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการวางแผน ประกอบด้วย วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพด้านวิชาการของสถานศึกษา เป้าหมาย คือประเมินความเสี่ยงด้านวิชาการโดยการประเมินด้วยตนเอง (Control Self Assessment-CSA) ครบทุกงานและบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้โดยมีกลยุทธ์คือ ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในด้านวิชาการ ประเมินความเสี่ยงในงานวิชาการโดยวิธีประเมินด้วยตนเอง (CSA) ของผู้รับผิดชอบ และบริหารความเสี่ยงตามกิจกรรมการควบคุมที่บรรจุในแผนปฏิบัติการประจําปี 2) ด้านการจัดองค์การประกอบด้วยการจัดโครงสร้างองค์การที่มีคณะกรรมการควบคุมภายในของสถานศึกษาและคณะกรรมการควบคุมภายในด้านวิชาการที่มาจากผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษามีอิสระในการดําเนินการควบคุม มีการมอบหมายงานการควบคุมแก่ผู้เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมดําเนินการ 3) ด้านการนํา ประกอบด้วย การสั่งการตามโครงสร้างการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา จูงใจให้มีการพัฒนาตนเอง การประเมินความเสี่ยงและบริหารความเสี่ยงโดยการยกย่อง ชมเชยและการให้รางวัล มีการนิเทศการพัฒนาบุคลากร การประเมินความเสี่ยงและการปฏิบัติตาม แผนบริหารความเสี่ยงตามแผนปฏิบัติการประจําปี และ 4) ด้านการควบคุม ประกอบด้วย การกํากับติดตามการประเมินความเสี่ยง การจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามแผน ตรวจสอบ ความถูกต้องครบถ้วนของการประเมินความเสี่ยงและการปฏิบัติตามแผนการควบคุมและประเมินผล การปฏิบัติงานโดยคณะกรรมการควบคุมภายในของสถานศึกษาและคณะกรรมการควบคุมภายในด้านวิชาการ
รูปแบบการบริหารการควบคุมภายในด้านวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือAcademic Internal Control Administration Model For Basic Education Schools In The Northern Region of Thailand is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.