การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการพุทธิพิสัยของครูภาษาไทยในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2
A Curricurum Development for Training of Learning Management by Cognitive Domain Application for Thailanguage Teachers in School under the office of Nakhon Si Thammarat Elementary Education Service Area 2
: ชื่อผู้วิจัย ประทิน จะรา
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2558
: 585
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและเพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการพุทธิพิสัยของครูภาษาไทยในสังกัดสํานักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ดําเนินการวิจัย 5 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2)การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมโดยนําร่างหลักสูตรจัดประชุมกลุ่มสนทนาโดย ผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 7 คน และปรับปรุงให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร 3)การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรโดยการนําหลักสูตรไปใช้กับกลุ่มทดลอง ได้แก่ ครูในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 มีครูภาษาไทยเข้ารับการอบรมจํานวน 15 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 รูปแบบการทดลอง One Group Pretest - Posttest Design 4) การติดตามการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมติดตาม หลังจากการทดลองฝึกอบรม 1 เดือน ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม 5)การปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่า t-test ผลการวิจัย พบว่า
1. หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการพุทธิพิสัยของครูภาษาไทย ประกอบด้วย องค์ประกอบของหลักสูตร 7 ด้าน ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระการฝึกอบรมครอบคลุมเนื้อหา 4 หน่วยการเรียนรู้ดังนี้ (1) มาเรียนรู้กระบวนการพุทธิพิสัยซึ่งมีเนื้อหาในด้านความจํา (Remember) ความเข้าใจ (Understand) การประยุกต์ใช้ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การประเมินคุณค่า (Evaluation) การสร้างสรรค์ (Creative) (2) การออกแบบกิจกรรมตามกระบวนการพุทธิพิสัยและเขียนแผนการเรียนรู้แบบร่วมมือ (3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนแผนการเรียนรู้แบบร่วมมือ (4) การประเมินหน่วยการเรียนรู้ 4) ระยะเวลาการฝึกอบรม 5) กิจกรรมการฝึกอบรม 6) สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม 7) การวัดและประเมินผลการฝึกอบรมผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรม มีดังนี้
2.1 หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการพุทธิพิสัยครูมีความรู้ความเข้าใจ หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ผลการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการพุทธิพิสัยที่จัดทําขึ้น ทุกแผนการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไป ประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการพุทธิพิสัยโดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการพุทธิพิสัยของครูภาษาไทยในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2A Curricurum Development for Training of Learning Management by Cognitive Domain Application for Thailanguage Teachers in School under the office of Nakhon Si Thammarat Elementary Education Service Area 2 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.