การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของสํานักศาสนศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
A Development of Educational Management Model of Phrapariyattidhamma Dhamma Section of Bureau of Religious Studies in the Upper Southern Area
: ชื่อผู้วิจัย พระครูพิจิตรศุภการ (กิติศักดิ์ มีสุข)
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2558
: 520
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ของสํานักศาสนศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของสํานักศาสนศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โดยมีขั้นตอนดําเนินการวิจัยทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของสํานักศาสนศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน (2) ร่างรูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของสํานักศาสนศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน (3) ตรวจสอบรูปแบบโดยนํารูปแบบไปถามกลุ่มตัวอย่างแล้วปรับปรุงเป็นรูปแบบฉบับสมบูรณ์ (4) ยืนยันรูปแบบการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของสํานักศาสน ศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากสํานักศาสนศึกษาที่มีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 278 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนําผลความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบที่สมบูรณ์ ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของสํานักศาสนศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน มี 5 องค์ประกอบ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) สาระสําคัญอันเป็นการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของสํานักศาสนศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน มีเนื้อหาครอบคลุม 5 ด้าน คือด้านหลักสูตรการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านทุนทางสังคม และด้านการวัดและประเมินผล (4) แนวทางการนํารูปแบบสู่ทางปฏิบัติ และ (5) เงื่อนไขสู่ทางปฏิบัติ
2. ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของสํานักศาสนศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน อันดับแรก คือแนวทางการนํารูปแบบไปสู่ทางปฏิบัติ รองลงมาคือด้านวัตถุประสงค์ และอันดับสุดท้ายคือด้านหลักการและเหตุผล
3. ผลการตรวจสอบความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ ผลการตรวจสอบความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของสํานักศาสนศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน พบว่าระดับความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจริงของรูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน อันดับแรก คือด้านการจัดการเรียนการสอน รองลงมาคือด้านทุนทางสังคม ด้านการวัดและประเมินผล ด้านสื่อการเรียนการสอน และอันดับสุดท้าย คือด้านหลักสูตรการสอน
4. ผลการตรวจสอบยืนยันรูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของสํานักศาสนศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ด้านหลักสูตรการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการ เรียนการสอน ด้านทุนทางสังคม และด้านการวัดและประเมินผล ผ่านเกณฑ์ที่กําหนดไว้ทุกด้าน
การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของสํานักศาสนศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนA Development of Educational Management Model of Phrapariyattidhamma Dhamma Section of Bureau of Religious Studies in the Upper Southern Area is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.