การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กเร่ร่อน
A Model Development of Educational Management for the Street Children's Life Skill Development

: ชื่อผู้วิจัย วรัทยา จันทรัตน์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2558
: 864

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กเร่ร่อน และ 2) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กเร่ร่อน โดยการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารจากงานวิจัยและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กเร่ร่อน และศึกษาข้อมูลการจัดการศึกษาของเด็กเร่ร่อนด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน ขั้นตอนที่ 2 กำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กเร่ร่อน แล้วนำไปตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เป็นผู้ตรวจสอบ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กเร่ร่อน โดยใช้แบบสอบถามความเป็นไปได้ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.992 กับครูอาสาสอนเด็กเร่ร่อน จำนวน 70 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กเร่ร่อน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) สาระสำคัญของรูปแบบ ได้แก่ (1) การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับเด็กเร่ร่อน คือ การจัดการศึกษาแบบเชิญชวนและการให้การปรึกษาแนะแนว (2) ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตของเด็กเร่ร่อน ได้แก่ (1) ทักษะการเห็นคุณค่าในตนเอง (2) ทักษะการติดต่อสื่อสาร และ (3) ทักษะการให้ความร่วมมือ 4) การนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติ และ 5) เงื่อนไขการนำไปใช้ โดยมีระดับความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ระดับความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยองค์ประกอบที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คือ วัตถุประสงค์ รองลงมาได้แก่ หลักการและเหตุผล เงื่อนไขการนำไปใช้ การนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติและสาระสำคัญของรูปแบบ ตามลำดับ

`

การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กเร่ร่อนA Model Development of Educational Management for the Street Children's Life Skill Development is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.