การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการสำหรับโรงเรียนเอกชนอิสลามในภาคใต้ตอนบน
A Development of the Integrated Academic Administration Model for the Islamic Private Schools in the Upper Southern Part of Thailand
: ชื่อผู้วิจัย อะหมัด อิสัน
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: อื่นๆ
: ปี 2558
: 605
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการสำหรับโรงเรียนเอกชนอิสลามในภาคใต้ตอนบนและ 2) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการสำหรับโรงเรียนเอกชนอิสลามในภาคใต้ตอนบน มีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ (1) การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการโดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสอบถามผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนอิสลามในภาคใต้ (2) การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการสำหรับโรงเรียนเอกชนอิสลามในภาคใต้ตอนบน โดยจัดทำร่างรูปแบบและพิจารณาความเหมาะสมของร่างรูปแบบโดยนำแบบสอบถามให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะและปรับปรุงแก้ไขโครงร่างรูปแบบ และ(3) การตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการสำหรับโรงเรียนเอกชนอิสลามในภาคใต้ตอนบน โดยใช้แบบสอบถามไปเก็บข้อมูลจากผู้อานวยการโรงเรียน รองผู้อานวยการโรงเรียน และหัวหน้าฝ่ายวิชาการโรงเรียนเอกชนอิสลามในภาคใต้ จานวน 49 โรงเรียน รวมผู้ให้ข้อมูล 147 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าความเป็นไปได้ของรูปแบบต่อไป ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการสำหรับโรงเรียนเอกชนอิสลามในภาคใต้ตอนบน มีลักษณะเป็นการผสมผสานหลักศาสนาอิสลามเข้ากับกิจกรรมการบริหารงานวิชาการทั้ง 8 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) ด้านการพัฒนาวัดผลประเมินผล 4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี 5) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 6) ด้านนิเทศติดตาม 7) ด้านการประกันคุณภาพภายใน 8) ด้านการส่งเสริมความรู้วิชาการแก่ชุมชนโดยแต่ละด้านมีองค์ประกอบของรูปแบบการบูรณาการ 4 ลักษณะ ได้แก่ การบูรณาการด้านภารกิจ การบูรณาการด้านองค์กรหรือผู้ปฏิบัติ การบูรณาการด้านบทบาทหน้าที่และการบูรณาการด้านการกากับติดตาม
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการสำหรับโรงเรียนเอกชนอิสลามในภาคใต้ตอนบนมีความเหมาะสมทุกด้านและโดยภาพรวมและรายด้านมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับมากอยู่ใน 3 อันดับแรก คือ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบการบูรณาการการวัดประเมินผลแบบการบูรณาการอิสลามและการพัฒนาสื่อนวัตกรรมแบบการบูรณาการ ส่วนด้านที่อยู่ในอันดับสุดท้ายคือการบริหารงานพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการอิสลาม
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการสำหรับโรงเรียนเอกชนอิสลามในภาคใต้ตอนบนA Development of the Integrated Academic Administration Model for the Islamic Private Schools in the Upper Southern Part of Thailand is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.