การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานสําหรับพนักงานผู้ให้บริการในมหาวิทยาลัย
A Development of Training Curriculum for Enhancing Potential Performance for Personnel in University

: ชื่อผู้วิจัย มะลิวัลย์ โยธารักษ์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: อุดมศึกษา
: ปี 2557
: 550

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานสําหรับพนักงานผู้ให้บริการในมหาวิทยาลัย และ 2) หาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม วิธีดําเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม และตอนที่ 3 การตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มทดลอง คือ พนักงานผู้ให้บริการในมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง แบ่งเป็นหัวหน้าผู้ประสานงาน จํานวน 20 คน พนักงานทําความสะอาด 30 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบด้านความรู้ความเข้าใจเรื่องงานความสะอาด แบบประเมินเจตคติที่มีต่ออาชีพ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน แบบประเมินการบริหารอารมณ์ แบบประเมินความรับผิดชอบ โดยทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานสําหรับพนักงานผู้ให้บริการในมหาวิทยาลัย องค์ประกอบของศักยภาพในการปฏิบัติงานมี 2 องค์ประกอบ คือ สมรรถนะมี 3 ด้าน คือ 1) ความรู้ความเข้าใจในงานทําความสะอาด 2) เจตคติต่ออาชีพ 3) ทักษะการปฏิบัติงานและจิตบริการ มี 2 ด้าน คือ 1) การบริหารอารมณ์ 2) ความรับผิดชอบมีเนื้อหา 8 หน่วยการ เรียนรู้ ดังนี้ 1) สร้างเจตคติที่ดีในอาชีพ 2) สร้างพลังให้มีความรับผิดชอบ 3) ฝึกการบริหารอารมณ์ 4) บริหารจัดการตนเอง 5) ร้อยใจสายสัมพันธ์ 6) รอบรู้รอบด้านงานคุณภาพ 7) เทคนิคการทําความ สะอาดที่เหนือชั้น 8) ฝึกปฏิบัติการทําความสะอาดสู่มืออาชีพ โดยแบ่งเวลาการอบรมดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1-3 เวลา 18 ชั่วโมง อบรมร่วมกันทั้งหัวหน้า ผู้ประสานงานและพนักงานทําความสะอาด หน่วยการเรียนรู้ที่ 4-6 เวลา 18 ชั่วโมง อบรมเฉพาะหัวหน้าผู้ประสานงานและหน่วยการเรียนรู้ที่ 7-8 เวลา 18 ชั่วโมง อบรมเฉพาะพนักงานทําความสะอาด รวมทั้งหมด 54 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน หลักสูตรการฝึกอบรมมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา สาระและเวลา 4) กิจกรรมการฝึกอบรม 5) สื่อการฝึกอบรม 6) การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม

2. ประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม

2.1 ผลการประเมินผู้ให้บริการที่เข้ารับการฝึกอบรมศักยภาพการปฏิบัติงานเปรียบเทียบทั้งก่อนและหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เป็นดังนี้

หัวหน้าผู้ประสานงานและพนักงานทําความสะอาดที่เข้ารับการฝึกอบรมการเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานทั้ง 2 องค์ประกอบ สรุปได้ดังนี้

สมรรถนะทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจในงานความสะอาด ด้านเจตคติต่ออาชีพ ด้านทักษะการเป็นหัวหน้าผู้ประสานงาน จิตบริการ ซึ่งประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ด้านการบริหารอารมณ์ และด้านความรับผิดชอบ มีคะแนนเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมมากกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.2 ผลการประเมินผู้ให้บริการที่เข้ารับการฝึกอบรมศักยภาพการปฏิบัติหลังการใช้ หลักสูตรฝึกอบรม เป็นดังนี้

หัวหน้าผู้ประสานงานและพนักงานทําความสะอาดที่เข้ารับการฝึกอบรมการเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานทั้ง 2 องค์ประกอบ สรุปผลได้ดังนี้

สมรรถนะทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจในงานความสะอาด ด้านเจตคติต่ออาชีพ ด้านทักษะการเป็นหัวหน้าผู้ประสานงานจิตบริการ ซึ่งประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ด้านการบริหารอารมณ์ และด้านความรับผิดชอบ หลังการฝึกอบรมมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์คือร้อยละ 70

`

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานสําหรับพนักงานผู้ให้บริการในมหาวิทยาลัยA Development of Training Curriculum for Enhancing Potential Performance for Personnel in University is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.