องค์ประกอบประสิทธิภาพการบริหารของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Factors of Efficiency Administration of Primary Educational Service Area Board under jurisdiction of Office of Basic Education Commission (OBEC)

: ชื่อผู้วิจัย พรศักดิ์ จินา
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2554
: 610

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการบริหารของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อตรวจสอบยืนยันความเที่ยงตรงตามสภาพจริง (Concurrent Validity) ขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่ได้กับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด (Known Group) การดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ตลอดถึงจัดประชุมกลุ่มสนทนา (Focus Group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อกำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้และสร้างเครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามเชิงประเมิน มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ได้ค่า - CI อยู่ระหว่าง 0.86-1.00 และค่า S-CVI เท่ากับ 0.93 นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 51 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเชื่อมั่นแอลฟาของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.9937 และผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ปรับแก้สมบูรณ์แล้ว ไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างคือคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ จำนวน 799 คน จำนวนแบบสอบถามที่รับคืนและสมบูรณ์ 765 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 95.74 ได้ค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเชื่อมั่นแอลฟาของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.9937 ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับการทดลองใช้และวิเคราะห์ พิจารณาความเหมาะสมของข้อมูล ได้ค่าดัชนีเท่ากับ 979 แสดงว่าข้อมูลมีความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก แล้วจากนั้นใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) สกัดปัจจัยเพื่อจัดกลุ่มตัวแปร ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis : CA) หมุนแกนแบบออโธกอนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ จากนั้นผู้วิจัยได้นำตัวบ่งชี้ที่ได้จากการดำเนินการในตอนต้นมาพัฒนาเป็นแบบสอบถามเชิงประเมิน โดยคณะกรรมการผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ปรับแก้ครั้งสุดท้าย ใช้เก็บข้อมูลจาก คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่เป็นกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด (Known Group) จำนวน 68 คน จำนวนแบบสอบถามที่รับคืนและสมบูรณ์ จำนวน 63 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.65 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการทดสอบค่าที (t - test) ประเมินอิงเกณฑ์ การแปลความหมายค่าคะแนนเฉลี่ยระดับมาก (u 23.50 ) เพื่อยืนยันความเที่ยงตรงตามสภาพจริง (Concurrent Validity) ด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์สำเร็จรูปผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการบริหารของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ 73 ตัวบ่งชี้ เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจจัดกลุ่มใหม่พบว่าได้ 8 องค์ประกอบ 73 ตัวบ่งชี้ อธิบายความแปรปรวนสะสมได้ 98.274 เรียงตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปหา น้อยตามลำดับ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมอธิบายความแปรปรวนได้สูงสุด ร้อยละ 68.977 มี 16 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการกระจายอำนาจการบริหารอธิบายความแปรปรวนได้รองลงมา ร้อยละ 6.863 มี 9 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านการนำองค์การและทักษะภาวะผู้นำ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 6.212 มี 10 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 5.215 มี 9 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.969 มี 9 ตัวบ่งชี้ 6) ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 2.814 มี 9 ตัวบ่งชี้ 1) ด้านเจตคติมุ่งผลประโยชน์ต่อประชาชนอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 2.198 มี 6 ตัวบ่งชี้ และ 8) ด้านการประสานส่งเสริมสนับสนุนและการติดตามประเมินผล อธิบายความแปรปรวนได้น้อยที่สุด ร้อยละ 2.052 มี 5 ตัวบ่งชี้

2. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่ค้นพบใหม่สะท้อนถึงความมีประสิทธิภาพการบริหารของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทั้ง 73 ตัวบ่งชี้ มีความเที่ยงตรงตามสภาพจริงสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

`

องค์ประกอบประสิทธิภาพการบริหารของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานFactors of Efficiency Administration of Primary Educational Service Area Board under jurisdiction of Office of Basic Education Commission (OBEC) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.