รูปแบบการบริหารจัดการคนเก่งเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Model of the Talented Management for Educational Development of the Secondary Schools in the Northeastern Region

: ชื่อผู้วิจัย นายวินัย ทองภูบาล
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2554
: 509

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการคนเก่งเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการคนเก่งเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดําเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สร้างรูปแบบจาก การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยจากที่เกี่ยวข้อง นํามาตรวจสอบความเหมาะสมด้วยการประชุมกลุ่มสนทนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วย ผู้อํานวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้างานบุคคลและครูผู้สอนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2554 จํานวน 349 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 60 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .94 ถึง 98 สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) นําองค์ประกอบที่มีความเป็นไปได้ในการนําไปปฏิบัติ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดมาปรับปรุงรูปแบบ และขั้นที่ 3 ตรวจสอบยืนยันความเป็นไปได้ของรูปแบบด้วยการประชุมกลุ่มสนทนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นนําข้อมูลที่ได้มาแก้ไขปรับปรุงเป็นรูปแบบการบริหารจัดการคนเก่งเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สมบูรณ์ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการบริหารจัดการคนเก่งเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การบริหารจัดการคนเก่ง ประกอบด้วย ภาระงานที่ต้องปฏิบัติกรอบสมรรถนะของครูที่เป็นคนเก่งที่โรงเรียนต้องการ วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการคนเก่งและการนําการบริหารจัดการคนเก่งไปสู่การปฏิบัติ 2) กระบวนการบริหารจัดการคนเก่ง ประกอบด้วย การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การระบุและการคัดเลือกคนเก่ง การจัดระบบงาน การพัฒนาและการสร้างเครือข่ายคนเก่ง การบริหารผลการปฏิบัติงานและการรักษาคนเก่ง 3) ปัจจัยแห่งความสําเร็จ ประกอบด้วย นโยบายของโรงเรียน โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียน วัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน ค่านิยมร่วมภายในโรงเรียน การสื่อสารภายในโรงเรียน และความตระหนักต่อคุณค่าของคนเก่ง 4) ผลผลิต ประกอบด้วยสมรรถนะของคนเก่ง ผลการปฏิบัติงานของคนเก่งและศักยภาพของคนเก่ง 5) ประเมินผลประกอบด้วยรูปแบบการประเมินคนเก่งและเครื่องมือการประเมินคนเก่ง

2. ความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการคนเก่งเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.03)

`

รูปแบบการบริหารจัดการคนเก่งเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือA Model of the Talented Management for Educational Development of the Secondary Schools in the Northeastern Region is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.