การสร้างและพัฒนาแบบวัดการปรับตัวด้านการเรียนสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
The Construction and Development of Learning Adjusting Measurement of Nakon Ratchasima Rajabhat University Students learning

: ชื่อผู้วิจัย วุฒิชัย จงคำนึงศีล
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: อุดมศึกษา
: ปี 2561
: 1027

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ สร้างและพัฒนาแบบวัดการปรับตัวด้านการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยได้ข้อคำถามที่เป็นตัวอย่างพฤติกรรมจำนวน 158 ข้อ จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์บุคคลแบบสามเส้าจากนักศึกษา จำนวน 5 คน คณาจารย์ผู้สอน จำนวน 3 คน และผู้บริหารมหาวิทยาลัย จำนวน 3 คน พบว่าลักษณะการปรับตัวด้านการเรียน ประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ ลักษณะการปรับตัวด้านการเรียนภายในห้องเรียน ได้แก่ การฟังบรรยาย การแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรมในชั้นเรียน และการจดบันทึก และอีกลักษณะหนึ่งคือ การปรับตัวด้านการเรียนภายนอกห้องเรียน ได้แก่ การทบทวนเนื้อหาที่เรียนมา การทําการบ้านงานที่มอบหมาย การเข้าร่วมกิจกรรมมหาวิทยาลัย การใช้เวลาว่าง และการทํางานพิเศษ ผลการศึกษาพบว่า ความเที่ยงตรงตามเนื้อหามีค่าอยู่ระหว่าง 0.63 ถึง 1.00 ความเชื่อมั่นมีด่าครอนบัคแอลฟ่าเท่ากับ .91 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อมีค่าอยู่ระหว่าง .20 ถึง .73 เกณฑ์ปกติจะยกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จํานวน 700 คน ประกอบด้วยเกณฑ์ปกติภาพรวมมีค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ ตั้งแต่ .50 ถึง 99.10 ค่าคะแนนที่ปกติ ตั้งแต่ T16.37 ถึง T83.51 เกณฑ์ปกติของการปรับตัวด้านการเรียนภายในห้องเรียนมีค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ ตั้งแต่ 90 ถึง 99.00 และค่าคะแนนที่ปกติ ตั้งแต่ T21.98 ถึง T89.84 เกณฑ์ปกติของการปรับตัวด้านการเรียนภายนอกห้องเรียนมีค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ ตั้งแต่ .90 ถึง 99.0 และค่าคะแนนที่ปกติ ตั้งแต่ T11.85 ถึง T83.03 ประกอบด้วยข้อคําถาม จำนวน 120 ข้อ เป็นการปรับตัวด้านการเรียนภายในห้องเรียนจํานวน 62 ข้อ และการปรับตัวด้านการเรียนภายนอกห้องเรียนจํานวน 56 ข้อ

`

การสร้างและพัฒนาแบบวัดการปรับตัวด้านการเรียนสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาThe Construction and Development of Learning Adjusting Measurement of Nakon Ratchasima Rajabhat University Students learning is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.