รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน
A Model of School Administrators’ Competency Development in the Upper Northern Thailand

: ชื่อผู้วิจัย อริสา นามวงศ์พรหม
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2559
: 983

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน และเพื่อยืนยันรูปแบบ การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน โดยดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น ประชากร คือผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 3,144 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 346 คน นำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความต้องการจำเป็น นำเสนอในรูปแบบตาราง 2) สร้างรูปแบบ การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน 3) การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน โดยการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจาก 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวน 8 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอในแบบความและ 4) ยืนยันรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน ใช้แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ นำเสนอในรูปแบบตาราง

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน ความต้องการพัฒนาสมรรถนะตามลำดับความต้องการจำเป็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณารายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการพัฒนาสมรรถนะตามลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับดังนี้ ด้านการบริหารด้านวิชาการ ค่า PNImodified เท่ากับ 0.47 ซึ่งแปลความหมายค่า PNImodified ของความต้องการจำเป็นการพัฒนาด้านการบริหารด้านวิชาการที่เป็นอยู่ไปยังสภาพความต้องการตามความสำคัญในการมีสมรรถนะ รองลงมาอันดับ 2 ที่เท่ากัน 2 สมรรถนะได้แก่ ด้านหลักและกระบวนการบริหารการศึกษา และด้านการบริหารกิจการนักเรียน ค่า PNImodified เท่ากับ 0.37 ซึ่งแปลความหมายค่า PNImodified ของความต้องการจำเป็นการพัฒนาทั้ง 2 สมรรถนะที่เป็นอยู่ไปยังสภาพความต้องการตามความสำคัญในการมีสมรรถนะ และลำดับสุดท้าย คือ ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ค่า PNImodified เท่ากับ 0.26 ซึ่งแปลความหมายค่า PNImodified ของความต้องการจำเป็นการพัฒนาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นอยู่ไปยังสภาพความต้องการตามความสำคัญในการมีสมรรถนะ

2. องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้ 1) หลักการและเหตุผลของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) สาระสำคัญของของรูปแบบ 4) แนวทางการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติและ 5) เงื่อนไขของรูปแบบ

3. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน ได้สร้างรูปแบบโดยผู้วิจัย แล้วหาค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหาของรูปแบบโดยผู้เชียวชาญ ทำการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ระดับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในภาพรวมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด

4. การยืนยันรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน มีความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 86

`

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบนA Model of School Administrators’ Competency Development in the Upper Northern Thailand is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.